• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้องเหน่อ
04.28
น้องเหน่อ
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามน้องเหน่อมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ครับ
04.28
ประวัติความเป็นมาของจังหวัด
จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง โบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า
3,500 - 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอด
วัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย
สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ "พันธุมบุรี"
ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบบริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้
ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะ
วัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า
"เมืองสองพันบุรี" ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้
หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกวา "อู่ทอง" จวบจนสมัย
ขุนหลวงพะงั่วเมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า "สุพรรณบุรี" นับแต่นั้นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองหน้าด่าน
และเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง
สภาพเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ถูกทำลายปรักหักพัง
จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณได้ฟื้นตัว และตั้งอยู่บนฝั่ง
ตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน(ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรี ในด้านประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชไทยใน
สมัยกรุงศรีอยุธยาได้แก่ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวร
มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหา
วีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลอง
อย่างยิ่งใหญ่ทุก ปีเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้น
กำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏ
ตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย
ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น
Suphanburi is a historical site with at least 3,500-3,800 years of historical evidence, the historical sources being found in this area dated back to Neolithic, Bronze Age and Metal Age and deliberately passed on the culture from the Suvanabhumi, Fahan, Amaravadee, Dvaravati and Srivijaya. Suphanburi was originally known as "Meuang Thawarawadi Si Suphannaphumi or" Phanthum Buri ", located on the banks of Tha Chin River, throughout Rua Yai District and Pihan Deang District. Later, Prince Katare has moved the city to the right bank of the river. He had ordered Mon noi (Small Tribes), people in the area, to build Sanamchai Temple and renovate Pa Lelai Temple, then he had invited 2000 bureaucrats to ordain And renamed the city to "Songphan Buri". In the period of King U-Thong, the city was built more onto the south side or the west side of the Tha Chin River, the name of the city was later called "U Thong" until the Khun Luang Pahang period, the city then called "Suphanburi".
In the Ayutthaya era, Suphan Buri was a frontier and a major farmland. The city had many wars, the town had been ruined, as well as its history and sources, until Rattanakosin period, Suphan Buri has been reformed and developed, then located on the east side of Tha Chin River (Suphan Stream) until today.
The importance of Suphan Buri in its history is the salvation of the independence of Thailand in Ayutthaya period, the victory of the King Naresuan the Great over Uparaja at the elephant duel of Don Chedi, the great heroic battle inscribed. The great celebration happens every year in order to honor Naresuan the Great. In literature a legendary city of origin, "Khun Chang Khun Phaen" an important Thai literature is still being mention nowadays along with its story locations such as Ban rua Yai, Wat Khao Yai, Tha Sib Bia, Rai Fai, Wat Pa Lelai, Wat Kae, Amphoe Uthong and Si Prachan.
古物包括新石器时代 铜器时代,铁器时代;并承传文化从素万那普时代,夫南,陀罗钵地,三佛齐时代;
素攀武里,原来的名称为“陀罗钵地素万那普” ,位于他钦河岸,从罗亚乡到批含登乡,后来卡德王将城迁移到河的右边,后来吩咐蒙内(其亲戚)建造瓦沙南差及修复瓦把勒莱庙,并说服2000 位官员来做和尚,因此称新城为“两千武里”,到了武通王时代,将城建造于钦河的南边或西边,称此城为“武通”,直到啪喔王时代,才称为“素攀武里”直到现在。
在大城为首都的时代素攀武里城为前方守卫城,及为储存粮食的城,经过多次的战争,城的古迹被破坏甚多,到了拉达那哥欣王国时代,素攀武里才开始恢复,及将城设立于他钦河的东边(素攀河流)直到现在。

素攀武里的重要性
在历史方面,于大城时代,曾拯救使泰国获得独立,即纳瑞宣大帝战胜緬甸副王于唐佛塔战场,是被历史记载的伟大象战事迹,并每年有盛大的庆祝活动,以称颂其伟业;在文学方面,这里是“昆昌昆彭”文学故事发生的地方,故事里的地名,现在仍存在,例如罗亚家,瓦考呀庙,塔息别,棉花田,瓦把勒莱庙,瓦科庙,武通县,及息巴占县等。