• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้องเหน่อ
18.18
น้องเหน่อ
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามน้องเหน่อมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ครับ
18.18
ภาพกิจกรรม
ผู้ว่าฯสุพรรณบุรี ประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงสุพรรณบุรี - นครหลวง - ชุมทางบ้านภาชี

วันนี้ (8 พ.ค. 68) เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมศรีอู่ทอง แกรนด์ ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี นายพิริยะ ฉันทดิลก เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงสุพรรณบุรี - นครหลวง - ชุมทางบ้านภาชี โดยมีนายวศิน สมานกสิกรรม ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานถึงความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการประชุม พร้อมด้วย ที่ปรึกษาโครงการฯ คณะวิทยากร หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ สื่อมวลชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบความเป็นมา วัตถุประสงค์และพื้นที่โครงการ งานที่ทำการออกแบบรายละเอียดและสรุปความก้าวหน้าการออกแบบรายละเอียดของโครงการ รวมทั้ง เสนอแนะข้อคิดเห็นต่อที่ประชุมเพื่อนำไปปรับปรุงผลการศึกษาและออกแบบโครงการ ซึ่งโครงการทางรถไฟ ช่วงสุพรรณบุรี – นครหลวง – ชุมทางบ้านภาชี เป็นการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่เชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเดิมเข้าด้วยกัน เริ่มต้นจากทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ผ่านบริเวณอำเภอนครหลวง ไปสิ้นสุดที่บริเวณชุมทางบ้านภาชี เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ กับเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี – หนองปลาดุก เพื่อรองรับการเดินทางและการขนส่งอย่างไร้รอยต่อ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเข้าไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (บางซื่อ) เป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายทางรางของจังหวัดสำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่ง กระจายโอกาสในการพัฒนา ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งทางรถไฟ ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และจูงใจประชาชนให้หันมาใช้บริการระบบรางมากขึ้น โดยพื้นที่ศึกษาโครงการ ครอบคลุม 8 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ (1) จังหวัดสุพรรณบุรี: อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า (2) จังหวัดอ่างทอง: อำเภอป่าโมก และ (3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอผักไห่ อำเภอภาชี อำเภอบางบาล

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ ได้แก่ (1) ทางรถไฟสายใหม่ที่เชื่อมโยงเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเส้นทางจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสายสุพรรณบุรี – หนองปลาดุก – ภาคตะวันตก และภาคใต้ (2) ระบบขนส่งทางรางเชื่อมโยงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ช่วยลดต้นทุนในการเดินทาง การขนส่ง และอุบัติเหตุ จากการเดินทางทางถนนได้ (3) ลดความแออัดของการขนส่งสินค้าผ่านระบบขนส่งทางรางเข้าไปกลางกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (4) เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด

ภาพกิจกรรมอื่นๆ