• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้องเหน่อ
15.21
น้องเหน่อ
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามน้องเหน่อมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ครับ
15.21
ข่าวประชาสัมพันธ์
สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ สุพรรณบุรี เตือน ! ให้เฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล

นางสาวอมรรัตน์ อินทร์มั่น นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ เปิดเผยว่า สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติและสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ตรวจพบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในช่วงวัยที่ 2,3 ลักษณะท้องแก่ปีกสั้น และชนิดแก่ปีกยาว จากการสุ่มนับที่แปลงนาของเกษตรกร ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พิกัด 100° 178' 90.34"N 14° 30' 13.16"E ในพันธุ์ข้าว กข41 พื้นที่ปลูก 15 ไร่ พบประมาณ 7 ตัวต่อจุด แปลงนาของเกษตรกรตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พิกัด 100° 002' 35.84"N 14° 40' 31.04"E ในพันธุ์ข้าว ปทุมธานี 1 พื้นที่ปลูกจำนวน 12 ไร่ พบปริมาณ 13 ตัวต่อจุด แปลงนาของเกษตรกรตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีปะจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พิกัด 100° 121' 56.83"N 14° 63' 47.13"E ในพันธุ์ข้าว ปทุมธานี 1 พื้นที่ปลูกจำนวน 7 ไร่ พบปริมาณ 20 ตัวต่อจุด และแปลงนาของเกษตรกรตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พิกัด 100° 107' 59.33"N 14° 91' 12.75"E ในพันธุ์ข้าว กข43 พื้นที่ปลูกจำนวน 7 ไร่ พบประมาณ 23 ตัวต่อจุด

ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์การระบาด และเพื่อป้องกันการสูญเสียจากการ

เข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพื่อเป็นการปกป้องผลผลิตข้าวของเกษตรกรและลดความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กรมการข้าวจึงขอแนะนำการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ดังนี้

1. เฝ้าระวังโดยการสำรวจนาข้าววันเว้นวันไม่ใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (resurgence) หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์มิทริน ไซเพอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรตเพอร์มิทรินไตรอะโซฟอส ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออนควินาลฟอส  และเตตระคลอร์วินฟอสอะบาเม็กติน เป็นต้น

2. ถ้าจัดการน้ำและควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2 - 3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7 – 10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเอง สลับกันไปจะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3. พื้นที่ที่ปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานีซึ่งเป็นพันธุ์อ่อนแอให้เฝ้าระมัดระวังเป็นพิเศษ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ โทร.0 3555 5340, 0 3555 5276 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ โดยช่วยนำตัวอย่างต้นข้าวมาด้วยเพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการวินิจฉัย

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี/ที่มา

ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ